Back to top
About Asia Industrial Estate

โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติภายในนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย (สุวรรณภูมิ)

News Description

  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (เจ้าของโครงการ) ร่วมกับบริษัท เอ็นไวร์ไซน์ จำกัด (บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม) จัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยการจัดประชุมและรับฟังความเห็นของประชาชน และการเข้าพบเพื่อรับฟังความคิดเห็นรายบุคคล
  มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลรายละเอียดโครงการ และการกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อความเพียงพอครอบคลุมของมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และการดำเนินโครงการ


กิจกรรม วัน/เดือน/ปี กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้ตอบแบบประเมิน
 การจัดประชุมและรับฟังความเห็นของประชาชน 22 มิ.ย. 2559  หน่วยงานราชการ หน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ผู้นำชุมชน ประชาชน/สถานประกอบการในนิคมฯ 23 ราย
(ไม่รวมเจ้าของโครงการและบริษัทที่ปรึกษา)
20 ราย
 การเข้าพบเพื่อรับฟังความคิดเห็นรายบุคคล 23-30
มิ.ย. 2559
 สถานประกอบการ ในพื้นที่ศึกษา 5 ราย 5 ราย
    รวม 28 ราย 20 ราย

สรุปประเด็นข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น และข้อซักถามในเวทีประชุมฯ

ประเด็นคำถาม/ข้อคิดเห็น คำชี้แจง
 ประชาชนในพื้นที่ได้อะไรจากการพัฒนาโครงการ
(ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลคลองสวน)
 ประชาชนได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมจากการพัฒนาโครงการ เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานที่สะอาด และการขนส่งผ่านระบบท่อเป็นระบบที่มีความปลอดภัย นอกจากนี้ ปตท. ยังมีนโยบายการเข้าร่วมกิจกรรมและคืนประโยชน์ให้กับชุมชน โดยทางชุมชนสามารถนำเสนอโครงการพัฒนาที่เป็นสาธารณะประโยชน์มายัง ปตท. เพื่อให้พิจารณาสนับสนุนได้
 ท่อถูกฝังที่ระดับความลึกเท่าไร หากรั่วไหลออกมาจะส่งผลกระทบไกลเท่าไร (รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเปร็ง)  ท่อฯ ของโครงการถูกฝังอยู่ใต้ดินที่ความลึกอย่างน้อย 1.5 เมตรจากหลังท่อถึงผิวดิน หากเกิดการรั่วไหลและติดไฟ จะมีรัศมีความร้อนอยู่บริเวณที่รั่วและติดไฟภายในพื้นที่นิคมฯเท่านั้น เนื่องจากเป็นระบบส่งก๊าซฯแรงดันต่ำ
 ความดันก๊าซที่ปล่อยเข้านิคมฯ  ความดันใช้งานสูงสุดขอท่อฯ ก่อนเข้าสถานีควบคุมความดันก๊าซฯ (Gate Station) ประมาณ 41 บาร์ และภายหลังปรับลดความดันจะมีความดันใช้งานสูงสุดประมาณ 11 บาร์
 ตำแหน่งแนววางท่อวางห่างจากกำแพงโรงงานเท่าไร (บริษัท โอคุโนะ (ประเทศไทย) จำกัด)  ตำแหน่งแนววางท่ออยู่บริเวณไหล่ทางถนน และห่างจากกำแพงโรงงานประมาณ ประมาณ 8 เมตร และลึกไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
 ในอนาคตหากมีลูกค้าโรงงานเพิ่มขึ้น จะมีแผนดำเนินการเชื่อมต่อจ่ายก๊าซฯ อย่างไร  โครงข่ายท่อที่วางในพื้นที่ ได้รับการออกแบบรองรับจำนวนลูกค้าในอนาคตแล้ว แต่หากโรงงานที่อยู่ในแนววางท่อฯ แจ้งความประสงค์เพิ่มต่อ ปตท. ทาง ปตท. จะพิจารณาออกแบบแนวท่อฯเพิ่มแล้วนำเสนอขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการต่อกรมธุรกิจพลังงาน ต่อไป
 หากเกิดเหตุการณ์รั่วไหล ประชาชนจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
(ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเปร็ง)
 ทาง ปตท.ได้จัดทำแผ่นพับโครงการ และคู่มือระงับฉุกเฉิน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติก๊าซ การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดฉุกเฉิน โดยทางทีมงานมวลชน ของ ปตท.จะลงพื้นที่เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในระยะศึกษาโครงการ ระยะก่อนก่อสร้าง และระยะก่อสร้างต่อไป โดยหากพบเห็นเหตุการณ์รั่วไหล ให้ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปอยู่ทางเหนือลม ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ และโทรศัพท์แจ้งรายละเอียดต่อ ปตท. โดยเร็ว ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1540
ด้วยคุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติ หากมีการรั่วไหลจะลอยตัวเนื่องจากเบากว่าอากาศ และมีลักษณะการรั่วไหลจะพุ่งขึ้นฟ้าเช่นเดียวกับการจุดไฟเช็ค ซึ่งไฟจะไม่ย้อนเข้าระบบท่อ รวมทั้งกรณีเกิดการรั่วไหล ทางศูนย์ปฏิบัติการระบบท่อ ชลบุรี ที่มีเจ้าหน้าที่ประจำตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะทราบข้อมูลการรั่วไหลผ่านระบบ SCADA และสามารถสั่งตัดจ่ายก๊าซฯ ได้อัตโนมัติ แล้วระบายก๊าซฯ ภายในเส้นท่อออกจากที่สถานีควบคุมความดันก๊าซ อย่างไรก็ดี ระบบท่อของโครงการจะมีระบบการเฝ้าระวังและการตรวจสอบบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ตามวาระไม่น้อยกว่าที่มาตรฐาน ASME B31.8 กำหนด
 มาตรการการด้านสิ่งแวดล้อมที่ให้ข้อมูลมีความครบถ้วนสมบูรณ์  แต่มีความกังวลในการปฏิบัติงานจริงว่าจะปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ครบถ้วนหรือไม่ (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเปร็ง)  ทาง ปตท. ต้องควบคุม กำกับให้ผู้รับเหมาปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน และมีบุคคลที่ 3 (Third Party) ที่ขึ้นทะเบียนกรมธุรกิจพลังงานเป็นผู้ตรวจสอบ และติดตามการปฏิบัติตามมาตรการฯ ของ ปตท. และของผู้รับเหมา แล้วรายงานผลต่อกรมธุรกิจพลังงาน โดยต้องแนบผลการปฏิบัติเป็นภาพถ่าย หรือเอกสารแสดงการปฏิบัติตามมาตรการฯ เป็นต้น
ปตท. จัดให้มีระบบรับเรื่องร้องเรียน โดยหากมีผู้ได้รับผลกระทบจะเร่งเข้าแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
 การปฏิบัติงานวางท่อส่งก๊าซฯ     ในนิคมอุตสาหกรรมฯ ลักษณะนี้    จะมีปัญหาอุปสรรคต่อชุมชน และท้องถิ่นหรือไม่  การวางท่อในพื้นที่นิคมฯ แต่ละโครงการที่ผ่านมา เช่น นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ระยอง, นิคมอุตสาหกรรมเหมราช สระบุรี, นิคมอุตสาหกรรมเหมราช ระยอง เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นการวางท่อจัดจำหน่ายก๊าซฯ ที่มีขนาดเล็ก และพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดอยู่ภายในเขตที่ดินของนิคมฯ จึงไม่มีผลกระทบต่อชุมชน และที่ผ่านมาไม่เคยได้รับเรื่องร้องเรียนจากชุมชน และไม่เคยเกิดอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด
 การอนุญาตก่อสร้างวางท่อฯ ต้องขออนุญาตทางท้องถิ่นหรือไม่ อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่หรือไม่  การขออนุญาตก่อสร้างวางท่อของโครงการต้องขออนุญาตหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ และขออนุญาตจากหน่วยงานราชการภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ กรมธุรกิจพลังงาน และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
 การพัฒนาโครงการดำเนินการนอกพื้นที่นิคมหรือไม่ ขอให้ระมัดระวังในการขนส่งท่อเข้าสู่พื้นที่โครงการ
(ผู้อำนวยการนิคมฯ)
 การพัฒนาโครงการอยู่ในเขตที่ดินของนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย (สุวรรณภูมิ) ทั้งหมด ส่วนการขนส่งท่อส่งก๊าซฯ ของโครงการ คาดว่าจะมีการขนส่ง 1-2 เที่ยว เท่านั้น และได้มีการกำหนดมาตรการด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น